โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย สุพรรณบุรี มาจากโรงเรียน ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนปรีชาพิทยาคาร และ โรงเรียนวัดประตูสาร โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ทางการ ได้ยุบโรงเรียนวัดประตูสาร ไปรวมกับ โรงเรียน ปรีชาพิทยาคาร และกำหนดฐานะให้ เป็นโรงเรียน ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี และ ต่อมา ได้พัฒนาเป็น โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ในปัจจุบัน โดยที่จะพอลำดับประวัติได้ เป็น ๖ ยุค ดังนี้ ก่อนที่จะมาเป็น ปรีชาพิทยาคาร ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๔๑ นายปล้อง ธรรมารมณ์ สอนหนังสือเด็กที่บ้านของตน โดยที่นักเรียนรุ่นแรกคือ เด็ก ในละแวกบ้าน แต่ต่อมา ก็เริ่มมีเด็กต่างถิ่น เข้ามาเรียนด้วย โดยหนังสือเรียน ที่ท่านใช้สอนเด็ก คือ หนังสือชุด มูลบทบรรพกิจ ซึ่งถือว่า เป็นหนังสือแบบเรียน ที่ดีที่สุดในยุคนั้น ใครก็เรียนจบ สามารถเข้ารับราชการได้ ทันที และกล่าวกันว่า สำนักเรียนของครูปล้อง เป็นสำนักเรียนชั้นดีที่สุด ของเมืองสุพรรณในเวลานั้น มาตรฐานความรู้ สูงกว่าการสอน ของพระตามวัดต่างๆ ซึ่งยังไม่ได้ตั้งเป็นโรงเรียน ตามการศึกษาแผนใหม่ ในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ เด็กจึงมาเรียน กับครูปล้องมากขึ้นทุกที จนที่เรียน ในบ้านของท่าน ซึงมีเรือนถึง หกหลังคับแคบ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๑ จึงเกิดอาคาร "ปรีชาพิทยาคาร" หลังแรกขึ้น และนายปล้อง ก็ได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นขุนปรีชานุศาสตร์
อาคารปรีชาพิทยากรหลังแรก ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๔๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการ เมืองสุพรรณบุรี ได้ทรงเยี่ยม ชมกิจการสอนของนายปล้องแล้วพอพระทัย เพราะพระองค์ท่าน ใฝ่พระทัยในงานการศึกษาอยู่มาก เมื่อทรงเห็น สถานที่คับแคบ จึงโปรดให้สร้างอาคารเรียน หลังใหม่ขึ้น ที่ริมแม่น้ำท่าจีน ในบริเวณ บ้านนายปล้อง เป็นอาคารทรงปั้นหยา ชั้นเดียว ๓ ห้อง ห้องหนึ่งจุประมาณ ๑๐ - ๑๕ คน มีมุขกลางด้านหน้า หลังคามุงจาก ประมาณนามว่า "โรงเรียนปรีชาพิทยากร" และทรงขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้นายปล้องเป็น "ขุนปรีชานุศาสตร์" ครูคนแรก และคนเดียวของ โรงเรียนนี้ ได้รับเงินเดือน จากกระทรงมหาดไทยเดือนละ ๒๕ บาท อาคารเรียน หลังนี้เข้าใจว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน เงินอุดหนุนด้วย อาคารนี้ใช้ได้อยู่ ๑๐ ปี ก็ทรุดโทรม เพราะน้ำท่วมทุกปี และกระแสน้ำแรงมาก อีกทั้ง นักเรียน ก็คงมากขึ้นด้วย โรงเรียนจึงย้าย ไปอยู่ที่ใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑
อาคารปรีชาพิทยากรหลังที่ ๒ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๖๑ โรงเรียนปรีชาพิทยากรแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่สี่แยกนางพิม ฝั่งตะวันตก ถนนพระพันวษา ตรงร้านถ่ายรูปแกรนด์ ในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ๗ ห้องเรียน หลังคามุงจาก อาคารหลังนี้ ท่านขุนปรีชานุศาสตร์ ได้ออกเงินส่วนตัว และได้รวบรวม เงินจากบรรดาศิษย์เก่า ที่มีหลักมีฐานแล้ว ได้เงินประมาณ ๒,๕๐๐ บาท นอกจากนี้ ได้มีพระยาอภัยภาติกเขต นายอำเภอสองพี่น้อง หลวงศรีราชรักษา บริจาคโต๊ะเรียน และม้านั่ง อาคารหลังนี้ พระยาสุนทรสงคราม (ม.ร.ว.เล็ก พยัคฆเสนา) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ให้นักเรียนโทษ มาปลูกสร้าง เมื่อย้ายมาอยู่ ที่อาคารหลังนี้ โรงเรียน ได้โอนมาสังกัดกระทรวง ธรรมการ และขุนปรีชานุศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็น ครูใหญ่ คนแรก และมีครูช่วยสอน ๓ คน ต่อมาขุนปรีชานุศาสตร์ ได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ กระทรวงธรรมการ จึงส่งขุนโกศลเศรษฐ์ มาเป็นเป็นครู คนที่ ๒ แต่ต่อมาเมื่อขุนโกศลเศรษฐ์ถึงแก่กรรม ทางราชการ จึงได้ยุบโรงเรียนวัดประตูสาร โอนครู และนักเรียน ไปรวมกับ โรงเรียนปรีชาพิทยากร โดยมีครูสาย เขมะพรรค เป็นครูใหญ่ โรงเรียนหลังที่สอง ดำเนินกิจการอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็ถูกยกเลิก นอกจาก เพราะชำรุดทรุดโทรมแล้ว คงเป็นเพราะ นักเรียนมาขึ้นด้วย พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) จึงสร้าง อาคารเรียนหลังใหม่ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็น "กรรณสูตศึกษาลัย
อาคารกรรณสูตหลังแรก ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๘๑ พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ปรารถ ถึงตัวโรงเรียน ซึ่งชำรุด ทรุดโทรมมากอยู่ และประสงค์ ที่จะสร้างโรงเรียนใหม่ ให้เสร็จโดยเร็ว โดยนายอำเภอทั้งเจ็ด ได้สนับสนุน ความเห็นของท่าน โดยจัดหาวัสดุต่างๆ มาให้ตามกำลัง และการก่อสร้าง ได้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ นั้นเอง เป็นรูปเรือนยาว สองชั้น มีมุขด้านหน้าสองด้าน ทางเหนือด้านหลัง ทางใต้ด้านหนึ่ง มีบันไดตรงกลาง มีห้องเรียนห้าห้อง ห้องใต้ถุนเปิดโล่ง ยาวประมาณ ๓๗ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร หลังคามุงกระเบื้อง พื้น และฝา เป็นไม้ยางล้วน จุนักเรียนประมาณ ๒๐๐ คน เป็นราคา ๓,๐๐๐ บาทเศษ และ โอนนักเรียนเก่า และเครื่องใช้ ของโรงเรียน ปรีชาพิทยากร มารวมกัน โรงเรียนกรรณสูต หลังแกรตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัจจุบัน เปิดสอน ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปีต่อๆ มาได้สร้างโรงอาหาร และประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับงบประมาณ เป็นค่าก่อสร้างอาคารไม้ ๒ ชั้นยาว ๓๐ เมตร เพื่อรับนักเรียนมัธยม หนึ่งพิเศษ สำหรับ เตรียมบุคคล ไปเป็นครูในชนบท โรงเรียนแห่งนี้ ขยายกิจการ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้ขยับขยายไปสร้าง ใน สถานที่แห่งใหม่ แต่ย้ายนักเรียนไปหมดจริงๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ระยะเวลา ๒๓ ปี จึงมีนักเรียนจบไปมากมาย
พ.ศ. ๒๕๐๖ นายพิณ โสขุมา ได้รับแต่งตั้งเป็น ครูใหญ่ของ โรงเรียน เห็นว่า โรงเรียนเดิม ซึ่งใช้มานาน ๒๕ ปี ชำรุดทรุดโทรม เป็นอันมาก โดยเฉพาะ ที่ดินซึ่งมีอยู่เพียง ๑๒ ไร่ เท่านั้น ค่อนข้าง คับแคบ จึงติดต่อไปยัง นายพัฒน์ บุณยรัตน์พันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ช่วยพิจารณา หาที่ดิน ที่กว้างกว่าเดิม และของบประมาณ จากกรมด้วย และในต้นปีนั้นเอง ก็ได้ที่ดินวัดร้าง ๒ วัด เนื้อที่ ๔๘ ไร่ เศษ คือ ที่ดินปัจจุบัน ได้รับงบประมาณ จากกรมสามัญศึกษา จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท และผู้มีจิตศรัทธา บริจาคอีก ๗๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้ ทำการก่อสร้าง อาคารเรียน ๒ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน ยาว ๘๐ เมตร ใต้ถุนโปร่ง และสูง พอที่จะแปลงเป็นห้องเรียนได้อีก ๙ ห้อง จากนั้น ทางโรงเรียนก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อาคารปรีชาพิทยากรหลังแรก ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๔๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการ เมืองสุพรรณบุรี ได้ทรงเยี่ยม ชมกิจการสอนของนายปล้องแล้วพอพระทัย เพราะพระองค์ท่าน ใฝ่พระทัยในงานการศึกษาอยู่มาก เมื่อทรงเห็น สถานที่คับแคบ จึงโปรดให้สร้างอาคารเรียน หลังใหม่ขึ้น ที่ริมแม่น้ำท่าจีน ในบริเวณ บ้านนายปล้อง เป็นอาคารทรงปั้นหยา ชั้นเดียว ๓ ห้อง ห้องหนึ่งจุประมาณ ๑๐ - ๑๕ คน มีมุขกลางด้านหน้า หลังคามุงจาก ประมาณนามว่า "โรงเรียนปรีชาพิทยากร" และทรงขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้นายปล้องเป็น "ขุนปรีชานุศาสตร์" ครูคนแรก และคนเดียวของ โรงเรียนนี้ ได้รับเงินเดือน จากกระทรงมหาดไทยเดือนละ ๒๕ บาท อาคารเรียน หลังนี้เข้าใจว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน เงินอุดหนุนด้วย อาคารนี้ใช้ได้อยู่ ๑๐ ปี ก็ทรุดโทรม เพราะน้ำท่วมทุกปี และกระแสน้ำแรงมาก อีกทั้ง นักเรียน ก็คงมากขึ้นด้วย โรงเรียนจึงย้าย ไปอยู่ที่ใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑
อาคารปรีชาพิทยากรหลังที่ ๒ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๖๑ โรงเรียนปรีชาพิทยากรแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่สี่แยกนางพิม ฝั่งตะวันตก ถนนพระพันวษา ตรงร้านถ่ายรูปแกรนด์ ในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ๗ ห้องเรียน หลังคามุงจาก อาคารหลังนี้ ท่านขุนปรีชานุศาสตร์ ได้ออกเงินส่วนตัว และได้รวบรวม เงินจากบรรดาศิษย์เก่า ที่มีหลักมีฐานแล้ว ได้เงินประมาณ ๒,๕๐๐ บาท นอกจากนี้ ได้มีพระยาอภัยภาติกเขต นายอำเภอสองพี่น้อง หลวงศรีราชรักษา บริจาคโต๊ะเรียน และม้านั่ง อาคารหลังนี้ พระยาสุนทรสงคราม (ม.ร.ว.เล็ก พยัคฆเสนา) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ให้นักเรียนโทษ มาปลูกสร้าง เมื่อย้ายมาอยู่ ที่อาคารหลังนี้ โรงเรียน ได้โอนมาสังกัดกระทรวง ธรรมการ และขุนปรีชานุศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็น ครูใหญ่ คนแรก และมีครูช่วยสอน ๓ คน ต่อมาขุนปรีชานุศาสตร์ ได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ กระทรวงธรรมการ จึงส่งขุนโกศลเศรษฐ์ มาเป็นเป็นครู คนที่ ๒ แต่ต่อมาเมื่อขุนโกศลเศรษฐ์ถึงแก่กรรม ทางราชการ จึงได้ยุบโรงเรียนวัดประตูสาร โอนครู และนักเรียน ไปรวมกับ โรงเรียนปรีชาพิทยากร โดยมีครูสาย เขมะพรรค เป็นครูใหญ่ โรงเรียนหลังที่สอง ดำเนินกิจการอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็ถูกยกเลิก นอกจาก เพราะชำรุดทรุดโทรมแล้ว คงเป็นเพราะ นักเรียนมาขึ้นด้วย พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) จึงสร้าง อาคารเรียนหลังใหม่ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็น "กรรณสูตศึกษาลัย
อาคารกรรณสูตหลังแรก ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๘๑ พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ปรารถ ถึงตัวโรงเรียน ซึ่งชำรุด ทรุดโทรมมากอยู่ และประสงค์ ที่จะสร้างโรงเรียนใหม่ ให้เสร็จโดยเร็ว โดยนายอำเภอทั้งเจ็ด ได้สนับสนุน ความเห็นของท่าน โดยจัดหาวัสดุต่างๆ มาให้ตามกำลัง และการก่อสร้าง ได้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ นั้นเอง เป็นรูปเรือนยาว สองชั้น มีมุขด้านหน้าสองด้าน ทางเหนือด้านหลัง ทางใต้ด้านหนึ่ง มีบันไดตรงกลาง มีห้องเรียนห้าห้อง ห้องใต้ถุนเปิดโล่ง ยาวประมาณ ๓๗ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร หลังคามุงกระเบื้อง พื้น และฝา เป็นไม้ยางล้วน จุนักเรียนประมาณ ๒๐๐ คน เป็นราคา ๓,๐๐๐ บาทเศษ และ โอนนักเรียนเก่า และเครื่องใช้ ของโรงเรียน ปรีชาพิทยากร มารวมกัน โรงเรียนกรรณสูต หลังแกรตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัจจุบัน เปิดสอน ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปีต่อๆ มาได้สร้างโรงอาหาร และประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับงบประมาณ เป็นค่าก่อสร้างอาคารไม้ ๒ ชั้นยาว ๓๐ เมตร เพื่อรับนักเรียนมัธยม หนึ่งพิเศษ สำหรับ เตรียมบุคคล ไปเป็นครูในชนบท โรงเรียนแห่งนี้ ขยายกิจการ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้ขยับขยายไปสร้าง ใน สถานที่แห่งใหม่ แต่ย้ายนักเรียนไปหมดจริงๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ระยะเวลา ๒๓ ปี จึงมีนักเรียนจบไปมากมาย
พ.ศ. ๒๕๐๖ นายพิณ โสขุมา ได้รับแต่งตั้งเป็น ครูใหญ่ของ โรงเรียน เห็นว่า โรงเรียนเดิม ซึ่งใช้มานาน ๒๕ ปี ชำรุดทรุดโทรม เป็นอันมาก โดยเฉพาะ ที่ดินซึ่งมีอยู่เพียง ๑๒ ไร่ เท่านั้น ค่อนข้าง คับแคบ จึงติดต่อไปยัง นายพัฒน์ บุณยรัตน์พันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ช่วยพิจารณา หาที่ดิน ที่กว้างกว่าเดิม และของบประมาณ จากกรมด้วย และในต้นปีนั้นเอง ก็ได้ที่ดินวัดร้าง ๒ วัด เนื้อที่ ๔๘ ไร่ เศษ คือ ที่ดินปัจจุบัน ได้รับงบประมาณ จากกรมสามัญศึกษา จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท และผู้มีจิตศรัทธา บริจาคอีก ๗๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้ ทำการก่อสร้าง อาคารเรียน ๒ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน ยาว ๘๐ เมตร ใต้ถุนโปร่ง และสูง พอที่จะแปลงเป็นห้องเรียนได้อีก ๙ ห้อง จากนั้น ทางโรงเรียนก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น